หนังตะลุง กับคนใต้มีความสัมพันธ์มากกว่าการละเล่นธรรมดา

เสน่ห์ของภาคใต้ที่สอดแทรกอยู่ใน ‘หนังตะลุง’

หากพูดถึงภาคใต้นอกจากอาหารรสจัดและทะเลใต้คุณคิดถึงอะไรกันคะ? แน่นอนเลยว่า ‘การละเล่น’ จะต้องเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของภาคใต้ที่คุณกำลังนึกถึง ซึ่งการละเล่นและการแสดงต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นไฮไลท์สำคัญที่เมื่อคุณเดินทางไปภาคใต้คงต้องได้รับชมกันสักครั้ง เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าบุคลิกโดยรวมของคนใต้จะมีความสนุกสนาน ความกระฉับกระเฉง และมีความอารมณ์ดีอยู่ในตัว ดังนั้นแล้วการละเล่นหรือการแสดงก็มักถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่สนุกครื้นเครงอยู่เสมอ

หนังตะลุง’ ก็ถือได้ว่าเป็นการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่ได้รับนิยมมากตั้งแต่ในอดีต ซึ่งการแสดงหนังตะลุงจะเป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านการขับร้องเป็นภาษาท้องถิ่น พร้อมกับสอดแทรกบทสนทนาลงไปในบ้างช่วงบางตอน

เสน่ห์ของภาคใต้ที่สอดแทรกอยู่ใน ‘หนังตะลุง’

หนังตะลุงแสดงได้ในมหรสพทุกรูปแบบ

หนังตะลุงถือได้ว่าเป็นสุดยอดการแสดงที่เราสามารถหาชมได้ในงานมหรสพทุกรูปแบบ ทั้งงานบุญ งานศพ และงานเลี้ยง แต่รูปแบบบทที่นำมาแสดง ‘นายหนัง’ จำเป็นจะต้องเลือกเนื้อหาการแสดงให้มีความเหมาะสม แน่นอนเลยว่าหนังตะลุงนอกจากจะช่วยสร้างรอยยิ้ม สร้างเสียงหัวเราะ และความบันเทิงให้กับผู้ชมได้แล้ว หนังตะลุงยังเป็นการแสดงที่สอดแทรกการศึกษา วัฒนธรรม และข้อคิดให้กับคนดูอีกด้วย

สำหรับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจริง ๆ เมื่อไหร่ แต่ตามหลักฐานที่ได้มีการจดบันทึกนั้นหนังตะลุงเป็นการแสดงที่มีต้นแบบมาจากหนังใหญ่ของชวา แต่หนังตะลุงจะใช้เป็นตัวหนังขนาดเล็กกว่าแนบลงบนพื้นผิวสีขาว จากนั้นส่องไฟบริเวณด้านหลังเพื่อให้ผู้ชมด้านหน้าเห็นเป็นเงา

หนังตะลุงแสดงได้ในมหรสพทุกรูปแบบ

นอกจากนี้ภาษา เนื้อเรื่อง และการดำเนินเรื่องของหนังตะลุง ก็ยังมีความแตกต่างจากหนังใหญ่อีกด้วย ซึ่งจุดกำเนิดของหนังตะลุงในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกจากฝีมือของชาวบ้านบ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง จากนั้นจึงได้มีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ใคร ๆ ก็ต่างพากันเรียกว่าหนังพัทลุง และเกิดความเพี้ยนทางการออกเสียง กลายเป็นหนังตะลุง อย่างที่เรารู้จัก

จะแสดงหนังตะลุงได้ ต้องอาศัยความชำนาญและไหวพริบ

มาถึงตรงนี้บางคนอาจเกิดความสงสัย ว่าการแสดงที่รื่นเริงเช่นนี้จะสามารถนำไปแสดงในงานศพที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าได้จริงหรือ? คำตอบคือจริงค่ะ เนื่องจากคนที่อยู่ตามชนบทมักจะอาศัยอยู่กันแบบครอบครัว พี่น้อง เมื่อมีเหตุการณ์ที่เศร้าโศกเกิดขึ้น ชาวบ้านก็มักจะไปนั่งพูดคุยรวมตัวกัน เพื่อไม่ให้เจ้าภาพรู้สึกเหงาและเสียใจ

ดังนั้น จึงได้มีการแสดงหนังตะลุงขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างความครื้นเครงอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเนื้อเรื่องที่นำมาเล่นก็เป็นเนื้อเรื่องทั่วไป ที่หลาย ๆ คนอาจรู้จุดกำเนิด จุดไคลแม็กซ์ และจุดจบดีอยู่แล้ว ซึ่งความท้าทายของการเล่นหนังตะลุงนั่นคือ ‘ไหวพริบ’ โดยเรื่องนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นหลัก เพราะหนังตะลุงจะใช้รูปแบบการแสดงสด ด้นบทสด และสอดแทรกเรื่องต่าง ๆ แบบสด ๆ กลางเวที ท่ามกลางสายตาที่จดจ้องมากมาย

จะแสดงหนังตะลุงได้ ต้องอาศัยความชำนาญและไหวพริบ

เพราะฉะนั้นแล้ว นี่จึงถือได้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของหนังตะลุง ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ และเกิดกำลังใจได้จากข้อคิดต่าง ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อเรื่องนั่นเองค่ะ

ปัจจุบันหนังตะลุงก็ยังคงหาชมได้อยู่ แต่อาจหาชมได้ยากบางพื้นที่ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม รวมไปถึงคณะหนังตะลุงไม่มีคนมารับช่วงต่อ ก็ถือเป็นเหตุผลที่ทำให้หนังตะลุงเริ่มมีคนแสดงน้อยลง แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงรับชมการแสดงนี้ได้อยู่บ้างตามพื้นที่ ซึ่งหากใครที่อยากลองไปสัมผัสกับบรรยากาศจริงก็ต้องลองล่องใต้ดูสักครั้ง รับรองว่าคุณจะติดใจแน่นอน

แต่การไปท่องเที่ยวแบบนี้หากคุณอยากอุ่นใจ ก็เลือกทำประกันสุขภาพเอาไว้สำรองค่าใช้จ่ายเผื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน มันก็จะยิ่งช่วยให้คุณเที่ยวได้แบบหายห่วง และหมดความกังวลหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นนะคะ

Published
Categorized as South

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *